อาหารสำหรับน้องกระต่าย

น้ำ

  550142_508483889175573_1803951052_n        

           น้ำเป็นโภชนาการที่สำคัญที่สุด น้ำที่สะอาด และเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงจะละเลยไม่ได้ ถ้าหากกระต่ายขาดน้ำกระต่ายจะไม่ยอมทานอาหารอะไรเลย จึงแนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำเช้า-เย็น นอกจากนี้อาทิตย์หนึ่งๆ ควรมีสักวันหยดวิตามินรวม น้ำสีแดงๆ ให้กระต่ายสัก 2-3 หยด ต่อน้ำครึ่งลิตร เพื่อให้กระต่ายได้รับวิตามินบางตัวที่ไม่มีในอาหาร เช่นวิตามินบี ซีและเค การผสมวิตามินลงในน้ำสามารถช่วยลดอาการเครียดและเป็นผลดีต่อกระต่ายแม่พันธุ์ที่ผสมติดต่อกันหลายครอก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระต่ายและโดยเฉพาะในกระต่ายขน น้ำจะช่วยให้ขนกระต่ายมีคุณภาพที่ดี จำไว้ว่าลิ้นของกระต่ายค่อนข้างไวต่อรสชาติของน้ำที่เปลี่ยนไป และในบางครั้งเค้าอาจจะไม่ยอมดื่มน้ำที่แปลกกว่าที่เคยทาน แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น ที่กระต่ายขาดหรือไม่ยอมทานน้ำ แต่สิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิดเมตาโบลิซึมของการสร้างขนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจจะทำให้ขนกระต่ายพันกันได้

อาหารสำเร็จรูป

   Rabbit Food Smart Heart         

           อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนพอเหมาะ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของกระต่าย กระต่ายทั่วไปมีความต้องการโปรตีน 14-17 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2-4 เปอร์เซ็นต์ และไฟเบอร์อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปอาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดมักจะมีอัตราส่วนอย่างพอเหมาะอยู่แล้ว และยังมีสารอาหารอื่นๆที่จำเป็นเช่น วิตามินและเกลือแร่ แต่ผู้เลี้ยงสามารถผสมหรือให้ผักผลไม้อื่นๆ เพิ่มเติมอีกได้ โดยสามารถให้อาหารกระต่ายทุก 12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ฉะนั้นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการให้อาหารคือในช่วงเช้าตรู่และตอนหัวค่ำ กระต่ายเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนควรจะได้รับอาหารเม็ดอย่างพอเพียง อาหารเม็ดใหม่ๆ และเปลี่ยนทุกวัน เช้าเย็น ควรจะมีไว้ตลอดอย่าให้ขาด เมื่อกระต่ายอายุมากขึ้น

        การจำกัดอาหารตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัญหาหลักของการให้อาหารกระต่ายก็คือ การให้อาหารมากเกินไป ถ้าเราให้อาหารเค้ามากเกินไป กระต่ายจะอ้วนและไม่แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับการผสมพันธุ์ติดยาก เพราะฉะนั้น แม้ว่ากระต่ายจะทานอาหารทั้งหมดที่ท่านให้ แต่ก็ต้องจำกัดอาหารอย่างเคร่งครัด สูตรง่ายๆ ของการให้อาหารเม็ด คือ ให้อาหาร 50 กรัมต่อน้ำหนักกระต่าย 1 กิโลกรัม ต่อวัน

  • กระต่ายขนาดเล็กเล็ก เช่น โปลิช และดัทช์ ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
  • กระต่ายหูตกพันธุ์เล็ก เช่น ฮอลแลนด์ลอป และอเมริกันฟัซซี่ลอป ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
  • กระต่ายแคระ สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ให้ทาน 35 กรัมต่อมื้อ

หญ้าขน

            Young Sandy Lop rabbit eating carrot tops           หญ้าขนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมโภชนาการของกระต่าย เพราะหญ้าขนเป็นแหล่งไฟเบอร์อย่างดี ซึ่งช่วยให้กระต่ายมีระบบการย่อยอาหารที่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรมีหญ้าขนที่สดและสะอาดไว้ในกรงตลอดเวลา หญ้าขนที่นำมาให้กระต่ายทานควรจะทำความสะอาดเสียก่อน โดยการแช่น้ำผสมด่างทับทิมไว้อย่างน้อย 30 นาที ถ้าไปเก็บมาจากสถานที่ที่เสี่ยงต่อการมียาฆ่าแมลงตกค้างก็ควรจะเลี่ยงหรือแช่ให้นานกว่านั้น เพราะกระต่ายเป็นสัตว์ที่ไวต่อสิ่งมีพิษและอาจจะตายได้ในทันที นอกจากนี้หญ้าขนยังจำเป็นสำหรับกระต่ายพันธุ์ขน เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันอาการขนพันกันแล้ว หญ้าขนยังมีส่วนช่วยในการงอกใหม่ของขนอีกด้วย

        หญ้าขนให้ได้ อัลฟัลฟ่าและฟางไม่สมควรให้ อัลฟัลฟ่าเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม และกระตุ้นการกินอาหารของกระต่าย แต่ไม่ควรให้มากหรือบ่อยเกินไป เพราะอัลฟัลฟ่ามีโปรตีนสูง ซึ่งจะมีผลต่อไตของกระต่าย อาจะทำให้เกิดอาการไตวายเฉียบพลัน โดยเฉพาะกระต่ายพันธุ์เล็ก โปรตีนที่มากเกินไปจะมีผลเสียต่อไตและอวัยวะภายในอื่นๆ กระต่ายที่ได้รับโปรตีนสูงเกินไป อาจจะมีอาการชักกระตุก หายใจถี่ น้ำมูกไหล และตายอย่างเฉียบพลันในที่สุด ฟางก็ไม่สมควรให้เป็นอาหารกระต่าย เพราะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆ

ผลไม้

article_20120310160618

         กระต่ายสามารถทานผลไม้ได้บางชนิดเท่านั้น เช่น แอ็บเปิ้ล กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฝรั่ง ส้ม แครอท สับปะรด สำหรับผลไม้ที่มีน้ำเยอะ เช่น แตงโม แตงกวา ไม่สมควรให้เพราะอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าเหมาะสมสำหรับกระต่ายเล็กที่เพิ่งเริ่มหัดทานอาหารอื่น นอกจากนมแม่ อายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะว่ากล้วยน้ำว้ามีโปรตีน แคลเซียมและสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของกระต่ายเด็ก มะละกอเป็นผลไม้ที่มีความจำเป็นสำหรับกระต่ายมาก เพราะว่าช่วยป้องกัน อาการเกิดก้อนขนไปอุดทางเดินอาหาร (Hair Ball) มะละกออบแห้ง เพียงชิ้นเล็กๆ ต่อวัน เป็นสิ่งที่พึงกระทำเป็นกิจวัตร นอกจากนี้ น้ำสับปะรดยังช่วยบรรเทาอาการเกิดก้อนขน ด้วยเช่นกัน

ผัก106593975

          สำหรับผักที่เหมาะสำหรับกระต่าย มีหลายอย่างเช่น ใบกะเพรา (ป้องกันกระต่ายท้องอืด) ผักกาดหอม ถัวฝักยาว และผักบุ้งไทย ส่วนผักบุ้งจีนไม่สมควรให้เพราะว่ามียางเยอะ ซึ่งอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้ มีข้อสังเกตง่ายๆ ผักสีเขียวเข้มทานได้ ผักสีเขียวอ่อนควรหลีกเลี่ยง

อาหารเสริม

10-ประโยชน์ของข้าวโอ๊ต

         อาหารเสริม เช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดทานตะวัน (ช่วยบำรุงขน) โดยเฉพาะข้าวเปลือก ซึ่งมีวิตามินบี เพื่อช่วยให้พ่อพันธุ์สมบูรณ์พันธุ์ก่อนผสม

เคล็ดไม่ลับ!!  

Picture-From-EOS-218

          สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ภาชนะที่ใส่อาหาร เช่น ภาชนะดินเผา กระเบื้องเคลือบหรือกล่องใส่อาหารอัตโนมัติ และกระบอกน้ำหรือถังจ่ายน้ำอัตโนมัติ ควรจะดูแลเรื่องความสะอาดอย่างดีและพิเศษที่สุด ภาชนะควรทำความสะอาดอย่างน้อยอาทิตย์ละสองสามครั้ง เพื่อล้างคราบสกปรกเช่นปัสสาวะและอุจจาระที่อาจจะกระเด็นหรือตกค้างอยู่ โดยส่วนตัวอยากแนะนำให้ใช้ภาชนะที่ทำความสะอาดและแห้งได้ง่าย เพื่อลดโอกาสที่กระต่ายจะเกิดอาการท้องเสีย จากเชื้อรากรณีที่ภาชนะไม่แห้งสนิทได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรจะต้องหมั่นสังเกตกระบอกน้ำ ว่ากระต่ายสามารถเลียหรือดูดน้ำได้หรือไม่ โดยดูดจากปริมาณน้ำที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นจุกน้ำอัตโนมัติ ผู้เลี้ยงต้องหมั่นสังเกตตลอดเวลา หากจุกน้ำรั่วหรืออุดตันก็อาจจะส่งผลเสียหรืออันตรายกับชีวิตน้อยๆเหล่านี้ได้

        สุดท้ายอยากฝากไว้ว่า สุขอนามัยของภาชนะอาหารและกระบอกน้ำ มีความสำคัญพอๆกันกับความสะอาดของอาหารที่ให้กระต่ายทาน หมายเหตุ ตัวเลขปริมาณอาหาร เป็นตัวเลขโดยประมาณ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามพฤติกรรมการกินของกระต่ายแต่ละตัว

ใส่ความเห็น